
南陽堂
โหราศาสตร์น่ำเอี๊ยง
อิ่มบุญครั้งใหญ่ในช่วงกินเจ เทศกาลแห่งการทำบุญเสริมความมงคล

ความเป็นมาเทศกาล เจ กินผักรับบุญ
-
ประวัติเทศกาลกินเจ
เทศกาลกินเจ หรือ เทศกาลถือศีลกินผัก ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ของทุกปีตามปฏิทินจันทรคติจีน มีมาตั้งแต่สมัยบรรพกาล ชาวจีนมีความเชื่อว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์จะไม่รับของเซ่นไหว้หรือใส่ใจผู้ที่มลทิน ดังนั้นก่อนทำพิธีเซ่นไหว้ต่าง ๆ พวกเขาจะทำการชำระร่างกายให้บริสุทธิ์ที่สุด โดยการเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ ถือศีลงดอาหารคาว งดประพฤติในกาม ซึ่งต้องปฏิบัติตามระยะเวลาที่กำหนด และนี่คือ “จุดเริ่มต้น ของประเพณีกินเจ” นิยามของ “การกินเจ” ในปัจจุบัน ผ่านเวลาหลายทศวรรษ ส่งผลให้การกินเจมีความเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต
-
เทศกาลการกินเจ จากจีน สู่ไทย
เทศกาลกินเจในประเทศไทย ไม่มีหลักฐานว่าเริ่มต้นขึ้นในสมัยใดแต่หากย้อนกลับไปและอ้างอิงหลักฐานในทางประวัติศาสตร์ พบว่ามีความเป็นไปได้ที่เทศกาลกินเจจะถูกนำเข้ามาเผยแพร่ยังประเทศไทยโดยคณะงิ้วและกลุ่มอั้งยี่ ซึ่งเป็นคนจีนที่อพยบโยกย้ายเข้ามาประกอบอาชีพในประเทศไทย จึงได้นำเอาประเพณีการกินเจเข้ามาด้วย แล้วผสมเข้ากับวัฒนธรรมในประเทศไทยจนก่อให้เกิดเป็นเทศกาลกินเจอันมีเอกลักษณ์สืบมาจนถึงปัจจุบัน
-
ความหมายของตัวอักษร เจ บนธงสีเหลือง
เจ (齋) ตัวอักษรที่เขียนเอาไว้บนธงสีเหลือ แปลว่า “การงดเว้นเพื่อความบริสุทธิ์” ตัวอักษรเจนั้นเป็นเหมือนเครื่องเตือนใจ ที่ไม่ใช่เพียงบอกให้งดเว้นในการทานเนื้อสัตว์อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังต้องงดเว้นจากอบายมุข ไม่ว่าจะเป็น การงดเว้นจากประพฤติในกาม การงดเว้นจากความรื่นเริง การงดเว้นจากการละเล่นอันก่อให้เกิดความมั่วเมา และ การงดเว้นจากสิ่งเสพติดให้โทษทั้งหลาย

-
ความหมายของตัวอักษร เจ บนธงสีเหลือง
เจ (齋) ตัวอักษรที่เขียนเอาไว้บนธงสีเหลือ แปลว่า “การงดเว้นเพื่อความบริสุทธิ์” ตัวอักษรเจนั้นเป็นเหมือนเครื่องเตือนใจ ที่ไม่ใช่เพียงบอกให้งดเว้นในการทานเนื้อสัตว์อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังต้องงดเว้นจากอบายมุข ไม่ว่าจะเป็น การงดเว้นจากประพฤติในกาม การงดเว้นจากความรื่นเริง การงดเว้นจากการละเล่นอันก่อให้เกิดความมั่วเมา และ การงดเว้นจากสิ่งเสพติดให้โทษทั้งหลาย
กินเจ 9 วัน รับบุญบูชาเทพ 9 องค์
การกินเจ นอกจากจะเกี่ยวเนื่องกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนาแล้ว การกินเจยังมีที่มาอันเกี่ยวข้องกับการบูชาเทพเจ้าตามคติความเชื่อของชาวจีนในอดีตด้วยเช่นกัน โดยชาวจีนเชื่อว่าตลอดระยะเวลา 9 วันนี้เทพเจ้าทั้ง 9 องค์ (ซึ่งก็คือดวงดาวทั้ง 9 ) จะผลัดเปลี่ยนกันลงมายังโลกมนุษย์ เพื่อให้พรแก่ผู้ที่รักษาศีล ทำความดี ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต และนำพาความโชคดีมาให้
-
กินเจวันที่ 1 เป็นการเริ่มต้นรับความมงคลและต้อนรับสิ่งใหม่ให้เข้ามาในชีวิต
-
กินเจวันที่ 2 สุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย อายุมั่นขวัญยืน
-
กินเจวันที่ 3 ได้รับความเมตตา โชคลาภหลั่งไหล ผู้คนเอ็นดู
-
กินเจวันที่ 4 การเรียนราบรื่น สติปัญญามากล้น ทำสิ่งใดก็เป็นมงคล
-
กินเจวันที่ 5 มั่นคงในทุกสิ่ง ชีวิตราบรื่น
-
กินเจวันที่ 6 ก้าวหน้าดังหวัง กิจการรุ่งเรือง ค้าขายร่ำรวย
-
กินเจวันที่ 7 ทำสิ่งใดไร้อุปสรรค ไม่มีศัตรูคู่แค้น ปลอดโปร่งทุกสิ่งไป
-
กินเจวันที่ 8 เงินทองหลั่งไหล โชคลาภเข้าหา ไม่ลำบากยากแค้น
-
กินเจวันที่ 9 ชื่อเสียงเฟื่องฟู สำเร็จสุขสมทุกความปรารถนา
พิธีสำคัญวันกินเจ
-
พิธีปั้งกุ๊น
พิธีปั้งกุ๊น หรือ พิธีปั้งเอี๊ย จัดขึ้นในวันที่ 3 วันที่ 6 และวันที่ 9 เป็นพิธีที่เรียกว่าการวางกำลังทหาสวรรค์เพื่อรักษาปริมณฑลในช่วงเทศกาลกินเจ ไม่ให้สิ่งชั่วร้ายมาทำลายผู้บำเพ็ญศีลภาวนารับบุญใหญ่ตลอดช่วงเทศกาลกินเจ
-
พิธีอัญเชิญหยกหองส่องเต้
พิธีนี้มีอีกชื่อเรียก คือ พิธีอัญเชิญเทพประธานงานกินเจ ในช่วงเช้าจะมีการอัญเชิญจักรพรรดิสวรรค์หรือหยกหองส่องเต้ มาเป็นประธานในพิธี เพื่อบอกให้ทราบว่าเข้าสู่ช่วงเทศกาลกินเจซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการปฏิบัติดีแล้ว ส่วนในช่วงเย็นจะมีการอัญเชิญเทพเจ้ากิ๊วหองไต่เต่ มาประทับเป็นองค์ประธานคอยดูแลลูกหลานตลอดเทศกาลกินเจ
-
พิธีบูชาเทพเจ้า
มีการอัญเชิญหล่ำสินปักเต้า หรือ เทพกระบวยเหนือ-ใต้ ตามความเชื่อคือเป็นเทพเจ้าแห่งการเกิดและการตายมาร่วมบูชาในพิธีกินเจ
-
พิธีซงเก๊ง
เป็นพิธีสวดมนต์เพื่อบูชาเทพเจ้าที่ได้เชิญมาประทับยังโลกในช่วงเทศกาลกินเจ โดยใช้บทสวดปักเต้าเก็ง เสมือนมีการอ่านฎีกาถวายแด่เทพทั้งหลาย
-
พิธีป้าชิดแช้
พิธีนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 7 ของเทศกาลกินเจ เป็นพิธีบูชาดวงดาวเพื่อขอเทพกิ๊วหองคุ้มครองผู้กินเจและขอพรให้การเคลื่อนขบวนแห่บูชาเทพเจ้าเป็นไปได้ด้วยดี เนื่องจากในวันที่ 7 นี้จะมีการเตรียมความพร้อมในการจัดขบวนแห่เทพเจ้าที่เสด็จลงมาจากสวรรค์ช่วงเทศกาลกินเจไปตามท้องถนนในวันที่8
-
พิธีอิ้วเก๊ง
พิธีแห่เทพเจ้าออกจากศาลเจ้า ในขบวนจะมีกองธง ขบวนศาสตราวุธ ร่มฉัตรและป้ายแห่นำหน้า ก่อนจะตามมาด้วยเกี้ยวขององค์เทพ โดยจะมีสาธุชนที่ถือศีลกินเจออกมานั่งคุกเข่าเพื่อขอพรองค์เทพเจ้าอยู่ตามไหล่ทางที่ขบวนแห่ผ่านมา
-
พิธีโก้ยโหย
เป็นพิธีที่จัดขึ้นในวันที่ 9 ซึ่งก็คือวันสุดท้ายของเทศกาลกินเจ เพื่อบูชาเทพแห่งไฟ เป็นการชำระล้างความสกปรกในจิตใจของมนุษย์ โดยในพิธีนี้จะมีพิธีย่อยลงไปอีก นั่นก็คือ การลุยไฟ หรือที่เรียกว่าพิธีโก้ยห่าน
-
พิธีโก้ยห่าน
พิธีโก้ยห่าน หรือ พิธีลุยไฟ จะจัดขึ้นในช่วงเย็นของวันที่ 9 ต่อจากพิธีโก้ยโหย เป็นพิธีสะเดาะเคราะห์ที่จะมีการนำตุ๊กตากระดาษมามอบให้กับม้าทรง ที่ทำการเดินบนถ่านไม้ร้อน ๆ เชื่อว่านี่คือการขจัดเคราะห์ร้ายและนำสิ่งไม่ดีออกจากตัวด้วยการใช้ไฟในการชำระล้าง
-
พิธีส่งพระ
พิธีสุดท้ายในคืนวันที่ 9 ซึ่งเป็นวันส่งท้ายเทศกาลกินเจ พิธีนี้จะมีการส่งเทพเจ้ากลับขึ้นสู่สวรรค์หลังจากที่ท่านได้มาประทับเพื่อให้พรยังโลกมนุษย์เป็นเวลาทั้งหมด 9 วันแล้ว เมื่อเสร็จพิธีส่งพระในคืนสุดท้าย ผู้ที่กินเจครบทั้ง 9 วันก็จะสามารถกลับมากินอาหารคาวได้ตามปกติ

การกินเจ แตกต่างกับ การกินมังสวิรัติอย่างไร
-
เจ
การกินเจ คือ การกินอาหารที่ไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์หรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์
อันได้แก่ ไข่ไก่ นม รวมไปถึงผักบางชนิดก็ถูกห้ามไม่ให้รับประทานเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นผักที่มีกลิ่นฉุน เช่น กระเทียม กุ๊ยช่าย ต้นหอม หัวหอม เป็นต้น ทั้งยังต้องระมัดระวังในการเลือกวัตถุดิบและเครื่องปรุงที่จะนำมาประกอบอาหารเป็นอย่างมาก โดยการประกอบอาหารจะต้องปรุงแต่งรสชาติให้น้อยที่สุด ส่วนใหญ่เครื่องปรุงรสที่ใช้ก็จะมีเพียง เกลือ น้ำตาล มะนาว เต้าเจี๊ยวและซีอิ๊วที่หมักจากพืชเพียงเท่านั้น
ในปัจจุบันการทำอาหารเจนั้น มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นจากผลิตภัณฑ์และเครื่องปรุงสำเร็จรูปต่าง ๆ ที่ทำออกมาเพื่อผู้ที่รับประทานอาหารเจโดยเฉพาะ
-
มังสวิรัติ
การกินมังสวิรัติ จะไม่เคร่งครัดเท่ากับการกินเจ เพราะนอกจากเนื้อสัตว์แล้ว ผัก ผลไม้
ทุกชนิดและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มาจากสัตว์ ไม่ว่าจะเป็น นมสดหรือไข่ ก็ยังสามารถรับประทานได้อยู่ รวมถึงสามารถปรุงรสได้ด้วยเครื่องปรุงรสทั่วไปอย่างไม่ได้จำกัด
-
บทสรุปความแตกต่างของเจกับมังสวิรัติ